Monday, January 26, 2015

Many Things World: แนวข้อสอบ MR203 สถิติและการวิจัยเบื้องต้นฯ

Many Things World: แนวข้อสอบ MR203 สถิติและการวิจัยเบื้องต้นฯ: แนวข้อสอบ วิชา สถิติและการวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา   MR203 1. การแสวงหาความรู้โดยอาศัยเหตุผลเป็นการแสวงหาความรู้โดยวิธีใด ... วิธี...

Thursday, November 21, 2013

Thursday, November 7, 2013

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
คณะ       คณะศึกษาศาสตร์  สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
หมวดที่ 1  ข้อมูลโดยทั่วไป
๑.  รหัสและชื่อรายวิชา
9121627  การวิจัยทางเทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น
                  (introduction to  Education Technology and  Communication Research)
๒. จำนวนหน่วยกิต  3
๓ หน่วยกิต (3-0-6)
๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Bachelor of Education Program in Educational  Technology and Communications) หมวดวิชาเอก  วิชาเอกบังคับ
๔.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๕.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2/2556 / นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 3
๖.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
๗.  รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
๘.  สถานที่เรียน
ห้องเรียนทฤษฎี ห้อง 1406  อาคารมุข-ปราณี มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา
๙.  วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐ (ฉบับปรับปรุง)
หมวดที่ ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.       จุดมุ่งหมายของรายวิชา
หลังจากศึกษาวิชานี้นักศึกษาสามารถ
       ๑.  มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มและบริบทการวิจัยเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
       ๒. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเค้าโครงการวิจัยเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
       ๓.เรียบเรียงคำถามการวิจัย  ตั้งสมมติฐาน  เขียนวัตถุประสงค์  จัดตั้งทีมงาน เขียนบทคัดย่อ  พื้นหลังของการวิจัย 
            วิธีการวิจัย  งบประมาณการวิจัย  ผลิตผลของการวิจัย
       ๔. เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และนำเสนอรายงานการวิจัยตามประเด็นที่กำหนดให้      
๒.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับหลักและวิธีการทำวิจัยเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ
๑.  คำอธิบายรายวิชา
ความรู้ขั้นพื้นฐานและประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
๒.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
ฝึกปฏิบัติ
นศ. ศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษา (ทฤษฎี 3×15=45 ชม.)
สอนเสริมตามความต้องการและความสามารถของนักศึกษาเฉพาะรายบุคคล (เป็นกรณีไป)
ควรศึกษาด้วยตนเองอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(x๑๕ = ๑๕ ชม.)
๓.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการและความสามารถของนักศึกษารายบุคคลหรือรายกลุ่มประมาณ ๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือมากกว่า (เฉพาะรายที่ต้องการหรือเป็นกรณีไป)

หมวดที่ ๔  การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
๑.  คุณธรรม จริยธรรม
     ๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
๑.  มีระเบียบวินัย  ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคมโดยรวม มีความสำนึกในหน้าที่ของตนเอง และเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นโดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ
     ๑.๒ วิธีการสอน
๑.  อาจารย์ผู้สอนมีการเสริม หรือสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้นักศึกษาตระหนักและเกิดการซึมซับสู่ภายใน โดยใช้สื่อประเภทต่างๆ หรือยกตัวอย่างที่เห็นได้จริงหรือข่าวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้นักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ก่อนจะพาเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียน
๒.  กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร(วัฒนธรรมในชั้นเรียน) เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา การให้เกียรติเพื่อนร่วมชั้นเรียน เป็นต้น โดยเกณฑ์การกำหนดทั้งหมดจะทำความเข้าใจและตกลงร่วมกัน ตั้งแต่การเข้าเรียนครั้งแรกของรายวิชา
๓.  มอบหมายให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำ ฝึกการเป็นผู้ตาม ฝึกการแสดงความคิดเห็น ฝึกการเคารพความคิดเห็นของเพื่อนหรือของผู้อื่น ฝึกการมีส่วนร่วมแบบสังคมประชาธิปไตย และฝึกให้กับนักศึกษาทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
๔.  สอนโดยวิธีการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ในเรื่องต่างๆ  เช่น การตรงต่อเวลา การยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น(ความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน) การสอนหรือการให้คำปรึกษาแก่ลูกศิษย์ทุกคนโดยไม่มีการแบ่งระดับชั้นวรรณะหรือเลือกที่รักมักที่ชัง เป็นต้น
     ๑.๓ วิธีการประเมินผล
๑.  ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) เช่น ประเมินจากงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย สังเกต
      การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การช่วยเหลืองานผู้อื่นเมื่องานของตนเองเสร็จแล้ว และการแสดงออกถึงความสุขเมื่อได้
      ทำในสิ่งที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
  ๒.  ประเมินจากการเข้าเรียนตรงต่อเวลา รับผิดชอบในหน้าที่ ส่งงานตรงตามกำหนดเวลา และเข้าเรียนทุกครั้ง
  ๓.  ประเมินจากพฤติกรรมของตัวนักศึกษาเอง โดยวิธีการสังเกต และการสอบถามความคิดเห็นต่อการยอมรับการ ทำงานในกลุ่มของนักศึกษาเอง
  ๔.  ประเมินผลโดยวัดจากผลคะแนนเก็บของนักศึกษา โดยดูคะแนนเก็บจากงานที่ส่ง งานกลุ่ม และส่วนร่วมในชั้นเรียนรวมไปถึงเวลาเข้าเรียนด้วย
  ๕. ให้นักศึกษาเซ็นชื่อในการเข้าเรียนทุกครั้ง


๒.  ความรู้
     ๒.๑  ความรู้ที่ต้องพัฒนา
              ๑. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวโน้มการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
              ๒. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
              ๓. ความรู้และความสามารถในการวางแผนการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
               ๔.ความรู้และความสามารถในการสรุปผลการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
               ๕.ความรู้และความสามารถในการสรุปและเผยแพร่ผลการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
               ๖.เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ การเห็นคุณค่าในวิชาชีพ ตระหนักถึงจรรยาบรรณครู และจรรยาบรรณของนักวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
     ๒.๒  วิธีการสอน
   ๑.  เน้นการเรียนการสอนที่เป็น Active Learning และรูปแบบการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner Centered Education)
   ๒. จัดให้มีการเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นบนสถานการณ์จริง ออกแบบงานจริง และการทำงานจริง
   ๓. จัดให้มีการฝึกปฏิบัติงานโดยการปฏิบัติการออกแบบเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล
   ๔. จัดให้มีการคิดวิเคราะห์และวิพากย์งานของเพื่อนนักศึกษา เพื่อการปรับปรุงแก้ไข และต่อยอดแนวความคิดใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในชั้นเรียน
   ๕. จัดการและสรุปผลการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
    ๖. จัดให้มีการนำเสนอ ผลการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาหน้าชั้นเรียน 
     ๒.๓  วิธีการประเมินผล
   ๑.  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การสอบเก็บคะแนน(Quiz) และการสอบปลายภาคเรียน
   ๒. ประเมินจากรายงานการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา งานกลุ่ม และงานเดี่ยวตามที่ได้รับมอบหมาย
   ๓. ประเมินจากวิธีการทำงาน ชิ้นงาน และการนำเสนอของผู้เรียนแต่ละคน
   ๔. ประเมินจากการสังเกตการณ์การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การนำเสนอ และจากการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
   ๕. แบบประเมิน และจากพฤติกรรมการทำงานอื่นๆ ของนักศึกษาหลังจากได้รับฟังการบรรยาย
๓.  ทักษะทางปัญญา
     ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
  ๑.  สามารถบูรณาการความรู้จากรายวิชาให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวมได้     
  ๒. สามารถสืบค้นและประเมินความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายได้
  ๓. สามารถคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันสถานการณ์และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และมีประโยชน์
  ๔. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจและสร้างสรรค์ประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคมโดยรวมได้
     ๓.๒  วิธีการสอน
  ๑.  จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกทักษะการคิด ทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม เช่น การสอนโดยการตั้งโจทย์คำถาม และร่วมกันวิเคราะห์/วิจารณ์ และร่วมกันอภิปราย หรือมีการทำงานในลักษณะกรณีศึกษา ฯลฯ
  ๒. จัดกิจกรรมโดยเน้นให้นักศึกษาได้มีปฏิบัติงานจริง โดยการมอบหมายการเก็บรวบรวมข้อมูลนอกสถานที่
  ๓. จัดกระบวนการเรียนการสอนที่ฝึกสร้างแนวคิดจากความรู้ที่ได้เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเกิดเป็นชิ้นงาน
     ๓.๓  วิธีการประเมินผล
๑. ประเมินจากงาน การเขียนรายงาน และการนำเสนองานของนักศึกษา
   ๒. ประเมินโดยดูจากการสรุปรายงาน และการวิเคราะห์โดยการอภิปรายประเด็นที่ศึกษา
   ๓. ประเมินจากความสามารถในการวิพากย์ผลงานของกลุ่ม
   ๔. ประเมินจากบทสรุปผลการสัมมนาต่อการสร้างประโยชน์ต่อสังคมหรือสภาพของท้องถิ่นที่นักศึกษาอาศัยอยู่
   ๕. ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา

๔.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
     ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
 ๑.  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่มงานที่ได้รับมอบหมาย  
 ๒. สามารถปรับตัว รับฟัง ยอมรับความคิดเห็น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม    
 ๓. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในชั้นเรียนและกับบุคคลอื่นๆ และหรือบุคคลทั่วไป
 ๔. สามารถร่วมกลุ่มคิดริเริ่มวางแผน และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี
      ความปกติสุข
 ๕. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างต่อเนื่องและมีความสม่ำเสมอ
     ๔.๒  วิธีการสอน
 ๑.  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการทำงานเป็นกลุ่ม และให้งานที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน
      หรือผู้เรียนกับบุคคลอื่นๆ นอกชั้นเรียน
 ๒. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เช่น เรื่องความรับผิดชอบ การมีมนุษย์สัมพันธ์ การมีน้ำใจ การเข้าใจบุคคลอื่นๆ
       เป็นต้น ฯลฯ
     ๔.๓  วิธีการประเมินผล
  ๑. สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาขณะทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน
  ๒. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานกลุ่ม
  ๓. ประเมินจากความรับผิดชอบต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
  ๔. ประเมินความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
  ๕. ประเมินจากการสังเกตการเรียนรู้โดยอาจารย์ และ/หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียน
๕.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     ๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
 ๑. สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในกลุ่ม ในชั้นเรียน และในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการฟัง การพูด
      การอ่าน และการเขียน
๒.  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีในปัจจุบันหรือเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อช่วยในการเรียน การค้นคว้า
      การทำงาน และการนำเสนอผลงานต่างๆ ของตนเองได้
๓.  เข้าใจสภาพต่างๆ สามารถคิดวิเคราะห์ และเลือกใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสถิติที่เหมาะสมในการ
      ทำงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
     ๕.๒  วิธีการสอน
 ๑. จัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมการฝึกทักษะด้านการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน ในชั้นเรียน โดยฝึกให้
      เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  และผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
๒. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการคิดวิเคราะห์ถึงการเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยี
      สารสนเทศ และหรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เหมาะสมตามเนื้อหาสาระที่เรียนที่ปฏิบัติในแต่ละครั้ง
๓.  จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ และเลือกใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ และสถิติที่เหมาะสมใน
      การทำงาน หรือการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
     ๕.๓  วิธีการประเมินผล
๑.  ประเมินทักษะการพูดจากการนำเสนอผลงาน การอภิปราย หรือการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
๒. ประเมินทักษะการเขียนรายงานจากงานที่ส่ง จากการสอบย่อย และจากการสอบปลายภาค
๓. ประเมินทักษะการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการที่ใช้ในการ
     นำเสนอเนื้อหานั้นๆ
๔. ประเมินความสามารถในการใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่ออธิบาย อภิปรายผลงานได้จากวิธีการคิด วิธีการ
     นำเสนอผลงาน
๕. ประเมินจากการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาเชิงตัวเลขของนักศึกษาแต่
     ละคน
๖.  ทักษะพิสัย
     ๖.๑  ทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา
  ๑. สามารถจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ              
  ๒. สามารถใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในการวิเคราะห์ข้อมูล
  ๓. สามารถเรียบเรียงรายงานการวิจัย
  ๔. สามารถสรุปผลกาวิจัย
  ๕. สามารถเผยแพร่ผลการวิจัย
     ๖.๒  วิธีการสอน
  ๑. มอบหมายงานการเขียนเค้าโครงการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 
  ๒. ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ
  ๓. มอบหมายงานให้เขียนรายงานผลการวิจัย สรุปผลวิจัย และเผยแพร่ผลการวิจัย เช่น การรายงานหน้าชั้นเรียน
     ๖.๓  วิธีการประเมินผล
  ๑.  ประเมินผลจากงานการเขียนรายงานของนักศึกษาแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม    
  ๒. ประเมินผลจากการปฏิบัติการของนักศึกษาแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่ม
  ๓. ประเมินผลจากการสอบปลายภาคเรียน


หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
๑.  แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวน ชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
และสื่อที่ใช้
ผู้สอน
- สังเขปรายวิชา การจัดการเรียนการสอนและวิธีการวัดและประเมินผล
- บทนำ / เกริ่นนำเข้าสู่รายวิชา
๑.  อธิบายและให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน และการเก็บคะแนน   ใช้สื่อเป็นเอกสาร มคอ.๓ และตัวอย่าง
๒.  เกริ่นนำเข้าสู่รายวิชา โดยการบรรยาย และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการซักถาม พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็น(ความรู้พื้นฐานเดิมของนักศึกษา) โดยใช้สื่อประกอบ
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
การวิจัยเบื้องต้น
๑. บรรยายความหมายของการวิจัยเบื้องต้น
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
3.
-การวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
๑. บรรยายความหมายของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การตั้งคำถามการวิจัย
๑. บรรยายความหมายของการตั้งคำถามการวิจัย
๒. อธิบายความหมาย บรรยายความหมายของการตั้งสมมุติฐานการวิจัย การแปลงคำถามการวิจัยเป็นสมมติฐานการวิจัย
๓. มอบหมายงานครั้งที่ ๑
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
- การทบทวนงานวรรณกรรม
๑. บรรยายความหมายของการทบทวนงานวรรณกรรม
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-เครื่องมือในการวิจัย
๑. บรรยายความหมายของเครื่องมือในการวิจัย
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การเก็บรวบรวมข้อมูล
๑. บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การประมวลผลข้อมูล
๑. บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การแปลผลข้อมูล
๑. บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
๒. นักศึกษานำเสนอข้อมูลเป็นรายกลุ่มเรื่อง   การแปลผลข้อมูล
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การจัดทำรายงานการวิจัย
๑.บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
๒. นักศึกษานำเสนอข้อมูลเป็นรายกลุ่มเรื่อง   การจัดทำรายงานการวิจัย
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
-การเขียนรายงานการวิจัย
๑.บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
๒. นักศึกษานำเสนอข้อมูลเป็นรายกลุ่มเรื่อง   การเขียนรายงานการวิจัย
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๐
-การเขียนและนำเสนอรูปเล่มรายงานการวิจัยตาม format ของมหาวิทยาลัยงษ์ชวลิตกุล
๑.บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบตัวอย่างงานจริง และใช้สื่อ Power Point  และInternet เป็นต้น
๒. นักศึกษานำเสนอข้อมูลเป็นรายกลุ่มเรื่อง   การเขียนรายงานการวิจัยตาม format ของมหาวิทยาลัยงษ์ชวลิตกุล
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๑
-การนำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 1 และ 2
. นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 1 และ 2
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๒
-การนำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 3 และ 4
. นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 3 และ 4
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๓
-การนำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 5 และ 6
. นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 5 และ 6
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๔
-การนำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 7 และ 8
. นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 7 และ 8
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๕
-การนำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 9 และ 10
. นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย ของนักศึกษากลุ่มที่ 9 และ 10
รศ.ดร.สุพิทย์ กาญจนพันธุ์
๑๖
สอบปลายภาค
๑.ข้อสอบเป็นแบบอัตนัย
- ข้อสอบ ๑ ชุดสำหรับนักศึกษา ๑ คน
๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลนักศึกษา
สัปดาห์
ที่ประเมินผล
สัดส่วนของการ
ประเมินผล
หมายเหตุ
คุณธรรม
จริยธรรม
- ประเมินจากการสังเกต โดยบันทึกเก็บเป็นหลักฐานในแต่ละชั่วโมงเรียน การสังเกต เช่น พฤติกรรมการเข้าเรียน/ออกจากห้องเรียน การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มารยาทหรือปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ในชั้นเรียน การส่งงานตรงตามเวลา การช่วยเหลือเพื่อน เป็นต้น
- นักศึกษาประเมินตนเอง/และเพื่อนในกลุ่มร่วมประเมิน
ทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา
10%

ความรู้
- จากการนำเสนอต่อหน้าชั้นเรียนเป็นรายกลุ่ม
จำนวน 1 ครั้ง
30%

ทักษะทางปัญญา
- การตอบคำถามในชั้นเรียน
- การนำเสนอรายงาน/ชิ้นงาน และการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- การส่งชิ้นงาน และการนำเสนองาน
- สังเกตพฤติกรรมขณะลงมือปฏิบัติงาน/และปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- สังเกตพฤติกรรมขณะลงมือปฏิบัติงาน/และปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน
- ให้เพื่อนในกลุ่มงานร่วมกันประเมิน
- สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของแต่ละคน
ตลอดภาคการศึกษา
 10%
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเมินจากงาน/รายงาน และรูปแบบการนำเสนองานการจัดนิทรรศการ
- การมีส่วนร่วมในการนำเสนอ
ตลอดภาคการศึกษา
สอบภาค 50 %
หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
๑.  ตำราและเอกสารหลัก
๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
๑. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
    เอกสาร             
    ข้อมูลแนะนำ
http://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ989035.pdf              

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
๑.   กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวิธีการและเครื่องมือสำหรับการประเมินผล ดังนี้
-       แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
แบบประเมินวิธีการการจัดการเรียนการสอน
      -  แบบประเมินสำหรับอุปกรณ์ สื่อและสิ่งของสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนชนิดต่างๆ
๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในรายวิชา 9121627  การวิจัยทางเทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น
-       ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา
-        ผลงานของนักศึกษา
-        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
๓.  การปรับปรุงการสอน
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ แล้ว ซึ่งผลการประเมินที่ได้อาจจะมีการพิจารณาเพื่อปรับปรุงการสอนบ้างในบางเรื่อง โดยการปรับปรุงการสอนอาจใช้วิธีการต่างๆ เช่น
- การทำวิจัยในชั้นเรียน
- การจัดสัมมนาวิชาการเพื่อบูรณาการวิธีการจัดการเรียนการสอน
- จัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงการสอน
๔.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
-        การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
-         มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมของนักศึกษา
๕.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
 การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิภาพในรายวิชา สามารถทำได้จากการนำผลที่ได้จากการประเมิน และผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลในรายวิชาที่เด็กทำได้แต่ละคน แล้วนำข้อมูลมาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดในการสอนสำหรับรายวิชานี้ เพื่อให้เกิดคุณภาพทางการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น ดังนี้
-        นำผลการประเมินมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป
-        มีการปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ ๓ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔ ที่ผ่านมา
-        เปลี่ยนสลับผู้สอน(วิทยากรจากภายนอก)/หรือมีผู้สอนเสริมเพื่อช่วยให้เกิดความหลากหลายในการเรียน
-        ศึกษาดูงานนิทรรศการและงานพิพิธภัณฑ์นอกสถานที่ เพื่อช่วยเพิ่มและเสริมประสบการณ์ตรงให้กับนักศึกษา
หมวดที่ 8 ข้อกำหนดจำเพาะของรายวิชา
เพื่อให้การเรียนการสอนของวิชา 9121627  การวิจัยทางเทคโนโลยี และการสื่อสารการศึกษาเบื้องต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดแนวปฎิบัติดังนี้
1.นักศึกษาที่ไม่ชำระค่าเรียนในเวลากำหนดไม่มีสิทธิเข้าเรียน
2.นักศึกษาที่ขาดเรียนตั้งแต่ 3 ครั้งชึ้นไปจะไม่มีสิทธิเข้าสอบปลายภาค
3.นักศึกษาที่เข้าห้องเรียนสาย 3 ครั้งถือว่าขาด 1 ครั้ง

4.การไม่เข้าร่วมในการนำเสนอรายงานกลุ่มถือว่าไม่เข้าสอบกลางเทอม